ประเภทของบัญชีเงิน e-currency
เราสามารถแบ่งประเภทของ e-currency ต่างๆ ได้จากระบบของฝากและการถอนเงินเพื่อเปลี่ยนเป็น e-currency นั้น ได้ดังต่อไปนี้
1.ระบบ Direct Payment
เป็นระบบที่ทำการผูกบัญชี e-currency ไว้กับบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตการ์ด ผ่านธุรกรรมทางธนาคาร โดยสามารถนำเงินจากบัญชีธนาคารของเราแล้วเปลี่ยนให้เป็น e-currency นั้นได้โดยตรง หรือในทางกลับกัน สามารถถอนจำนวนเงินที่มีอยู่ใน e-currency นั้นๆ สู่บัญชีธนาคารของเราได้โดยตรงเช่นกัน e-currency เหล่านี้ได้แก่ Paypal , Moneybookers , Clickandbuy, Alertpay , Webmoney,และ Neteller
2.ระบบ Third Party
เป็นระบบที่ทำการซื้อขาย e-currency ผ่านตัวแทนต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเงินจากบัญชีธนาคารของเราเป็น e-currency ชนิดนั้นๆ ซึ่งตัวแทนแต่ละที่นั้นก็มีค่าธรรมเนียมการ ซื้อขายที่แตกต่างกันไป e-currency เหล่านี้ได้แก่ e-gold , Webmoney , Liberty Reserve ,Pecunix, c-gold และ e-dinar
มูลค่าขึ้นกับราคาทองคำ ได้แก่ e-gold , c-gold ,e-bullion, Pecunix และ e-dinar
มูลค่าไม่ขึ้นกับราคาทองคำ ได้แก่ Liberty Reserve
โดย การที่ e-currency ที่ขึ้นกับราคาทองคำนั้น หมายความว่า ถ้าค่าทองในตลาดโลกมีมูลค่ามากขึ้น ค่าเงินใน e-currency ชนิดนั้น ก็จะมีมูลค่ามากขึ้นตามเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ถ้าค่าทองในตลาดโลกลดลง ค่าเงินที่เรามีอยู่ ก็จะลดลงเช่นกัน และยังมี e-currency บางชนิดเช่น e-bullion สามารถเลือกใช้ได้ทั้งมูลค่าที่ขึ้นกับราคาทองคำ หรือ ไม่ขึ้นกับราคาทองคำ
3.ระบบ Voucher Card
ระบบ นี้ จะคล้ายๆ เป็นบัตรเติมเงิน ซึ่งเราต้องนำเงินสดไปซื้อบัตร หรือสลิปมาจากตัวแทนจำหน่าย โดยในโซนยุโรปนั้นสามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านมินิมาร์กทั่วไป หรือตามตู้ขายบัตรอัตโนมัติ โดยที่ ในการ์ดหรือสลิปแต่ละใบ จะประกอบไปด้วยมูลค่าเงินที่เราซื้อ และรหัสเพื่อนำมากรอกในบัญชี e-currency ของเรา เป็นการเติมเงินในบัญชีโดยผ่านบัตร นั้นเอง e-currency เหล่านี้ได้แก่ Ukash , Paysafecard CashU รวมทั้ง Webmoney ด้วย
โดย ที่ e-currency บ้างชนิดก็สามารถใช้คุณสมบัติได้ทั้งสามระบบที่กล่าวมาข้างตน เช่น Webmoney และ CashU ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศที่ผู้ใช้งานสามารถนำระบบไหนมาใช้ได้